ประวัติดอกมะลิ

                             ประวัติดอกมะลิ


มะลิ เป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาด ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญลักณณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนอกจากนี้คนไทย

โบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระ


ดอกมะลิ เป็นทั้งพืชเศรษฐกิจและไม้ดอกที่นิยมปลูกกันในเมืองไทยมาช้านาน ด้วยเพราะปลูกง่าย และยังเป็นไม้มงคลที่ช่วยเสริมดวงเสริมโชคชะตา เชื่อกันว่า บ้านที่ปลูกต้นมะลิจะมีความสุขสงบ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้คนรอบข้าง และยังเกื้อหนุนให้เกิดความกตัญญูของผู้เป็นลูกที่ดีต่อแม่อีกด้วย ชนิดของต้นมะลินั้นมีอยู่นับ 10 ชนิด ที่มากที่สุดในประเทศไทยคงต้องยกให้ มะลิลา เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรไทยปลูกขายกัน แต่ถ้าพูดถึงต้นมะลิที่นิยมปลูกในบ้านเป็นไม้มงคลล่ะก็จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่ มะลิซ้อน, มะลิวัลย์, มะลิฉัตร, มะลิพวง และพุทธชาติ ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปของพุ่มต้นจะคล้ายกัน แต่ก็สามารถสังเกตความแตกต่างได้จากใบและรูปดอก และในโอกาสที่ใกล้จะถึงวันเเม่่นี้ เราทั้งหลายคนที่เป็นลูกๆ อย่าลลืมเอาดออกมะลิ ไปไหว้คุณแม่ของเรานะค่ะ และรักคุณแม่ทุกๆวัน ไม่จำเป็นเฉพาะวันแม่วันเดียวค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก และภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

การที่ใช้ดอกมะลิเป็นสื่อกลางในการแสดงความรักต่อแม่นั้น เพราะดอกมะลิไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด มันก็ยังคงมีสีขาวซึ่งแสดงถึงความขาวสะอาดบริสุทธิ์ ดอกมะลิจึงถือว่าเป็นดอกไม้มงคลชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมปลูกไว้ประจำบ้าน คนไทยสมัยโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นมะลิเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่บ้าน ควรปลูกในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และจากความเชื่อที่ว่าถ้าต้องการประโยชน์ทั่วไปจากดอกก็ควรปลูกต้นไม้นั้นในวันพุธ

ดังนั้นการ ปลูกต้นมะลิจึงนิยมปลูกในวันพุธ และอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นประการสำคัญเพื่อความเป็นสิริมงคลคือ ผู้ปลูกควรเป็นสตรีสูงอายุ เช่น คุณย่า คุณยาย คุณแม่ เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ที่มีแต่คุณงามความดีและเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง นอกจากนี้ยังเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทั่วไป ดอกมะลิมีหลายพันธุ์ ทั้งชนิดที่มีกลีบดอกชั้นเดียวและหลายชั้น ทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อ แต่ที่คุ้นตากันเห็นจะเป็นดอกมะลิที่มีกลีบชั้นเดียว เรียกว่า มะลิลา นอกจากนี้ยังมีมะลิซ้อน มะลิวัลย์ มะลิพวง มะลิฉัตร พุทธชาติ เป็นต้น แต่พันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกคือ มะลิลาพันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ และพันธุ์ชุมพร

การปลูกมะลิไว้ประจำบ้านนั้นเชื่อกันว่าจะทำให้บ้านั้นมีความสงบสุข ผู้คนในบ้านจะดำรงตนเป็นคนอยู่ในศีลในธรรม คนในบ้านจะมีแต่ความบริสุทธิ์ เอื้ออาทรต่อกัน มีแต่ความรักความคิดถึงให้แก่กันและกันทั้งต่อบุคคลในบ้านและบุคคลอื่นด้วย และยังเกื้อหนุนให้มีความกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณด้วย จากความเป็นมงคลของดอกมะลินี่เองจึงได้ถูกนำมาเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ ซึ่งหมายถึงความรักและความกตัญญูของลูกต่อแม่และผู้มีพระคุณ นอกจากดอกมะลิจะเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงความรักต่อแม่แล้ว จะสังเกตเห็นได้ว่า คนไทยนิยมใช้ดอกมะลิในการบูชาพระด้วย อันเนื่องมาจากความสะอาดบริสุทธิ์


ดอกมะลิและต้นมะลินี้ ใช่ว่าจะเป็นเพียงไม้มงคลที่ให้เฉพาะดอกมะลิที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและความงามอันสะอาด บริสุทธิ์ แล้วนำมาร้อยมาลัย หรือสกัดทำน้ำมันหอมระเหยเท่านั้น แต่ยังเป็นพืชสมุนไพรที่เราสามารถนำส่วนต่างๆทั้งดอกสด ดอกแห้ง ใบ ลำต้น ราก มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น ดอกสด ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ ตัวร้อน เป็นหวัด ดอกแห้งใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น ใบสดช่วยรักษาแผลพุพอง ลำต้น ช่วยในการขับเสมหะและโลหิต ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนใน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าดอกมะลิไม่ใช่เป็นเพียงดอกไม้ธรรมดาที่ใช้แสดงถึงความบริสุทธิ์ ความรัก ความกตัญญูต่อแม่และผู้มีพระคุณเท่านั้น แต่ยังเป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมายที่เราไม่ควรมองข้ามและควรใส่ใจในคุณค่าของพืชชนิดนี้ด้วย

ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันแม่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน ต่อมามีการเปลี่ยนกำหนดงานวันแม่หลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนโดยให้ถือว่า วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันด้วยเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก คนไทยถือเป็นดอกไม้มงคล นิยมเอาดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อบูชาพระ และดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลายมะลิ นอกจากนี้ มะลิดอกแห้งก็ยังสามารถใช้ปรุงเครื่องยาหอม

ความคิดเห็น